“แนวคิดบริหารเงินตามรอยพ่อหลวง”
“แนวคิดบริหารเงินตามรอยพ่อหลวง” พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระองค์ทรงได้เงินค่าขนมอาทิตย์ละครั้ง กระนั้นพระองค์ก็ยังทรงรับจ้างเก็บผักผลไม้ไปขาย และเมื่อทรงได้เงินมาก็นำไปซื้อเมล็ดผักมาปลูกเพิ่ม รวมไปถึงเก็บออมเพื่อซื้อของเล่นและหนังสือที่อยากได้ด้วยตัวพระองค์เอง ถือเป็นคุณูปการสำคัญที่ทำให้ในหลวงทรงเรียนรู้หลักความพอเพียงสมถะมาตั้งแต่ครั้งยังทรงพระเยาว์ จนกระทั่งสมเด็จย่ามีพระดำรัสในเวลาต่อมาว่า “ในสวนจิตรเนี่ย คนที่ประหยัดที่สุดคือ ในหลวง ประหยัดที่สุดทั้งน้ำ ทั้งไฟ เรื่องฟุ้งเฟ้อฟุ่มเฟือยไม่มี” การบริหารเงินของพระองค์นั้นทำให้เราได้แง่คิดเกี่ยวกับเงินที่สามารถน้อมนำมาใช้ มาปฏิบัติตามได้ดังนี้ ประหยัด ใช้จ่ายไม่เกินตัว: จะเกิดการออมได้ก็ต้องรู้จักประหยัด ไม่ใช้จ่ายเกินตัว และรู้จักซื้อของเมื่อเงินพร้อม ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญกับการใช้ชีวิตของคนเรามากๆ หากทำตามที่พระองค์ทำได้ ย่อมนำมาซึ่งชีวิตที่พอเพียง ไม่ขัดสน ไม่เป็นหนี้ ตั้งเป้าหมายการออม: การ “ออมเงิน” เป็นเรื่องที่ดี ซึ่งตัวอย่างของการฝึกออมนั้นพระองค์ทรงทำให้เห็นแล้ว ด้วยการตั้งเป้าหมายการออมไว้ ซึ่งก็คือ “ของเล่นและหนัง