เรื่อง กล้วยๆ

"กล้วยน้ำว้า" มีชื่อพื้นบ้านหรือชื่อในภาษาท้องถิ่นเรียกแตกต่างกันออกไป ได้แก่ กล้วยน้ำว้าเหลือง กล้วยใต้ กล้วยอ่อง มีชื่อเรียกในภาษาอังกฤษว่า บานาน่า (Banana) พิซาล อะวัค (Pisang Awak)
"กล้วยน้ำว้า" มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า มิวซา สปีชี่ (Musa sp.) มิวซา ซาเปียนตัม (Musa sapientum Linn.)จัดอยู่ในวงศ์ มิวซาซีอี้ (Musaceae)

คุณค่าทางโภชนาการของกล้วยน้ำว้า ในบรรดากล้วยทั้งหลาย กล้วยน้ำว้าจะให้พลังงานมากที่สุด

กล้วยน้ำว้าห่ามและสุกมีธาตุเหล็กในปริมาณสูง ช่วยสร้างเม็ดเลือดแดง ป้องกันโรคโลหิตจาง มีแคลเซียม ฟอสฟอรัส และวิตามินซี นอกจากนี้ในกล้วยน้ำว้ายังมีเบต้าแคโรทีน ไนอาซีน และใยอาหาร

ส่วนกล้วยน้ำว้าดิบและห่าม จะมีสารแทนนิน และเพคติน ซึ่งมีฤทธิ์ฝาดสมาน

สรรพคุณของกล้วยน้ำว้าและวิธีใช้ กล้วยน้ำว้ามีสรรพคุณในการเป็นยาสมุนไพร ซึ่งแต่ละส่วนจะให้สรรพคุณแตกต่างกันดังต่อไปนี้
ผลสุก มีเบต้าแคโรทีน ไนอาซีน ใยอาหาร และเพคติน จึงมีสรรพคุณในการหล่อลืน ช่วยให้ระบบขับถ่ายคล่องขึ้น ช่วยระบายท้อง และใช้เป็นยาระบายได้เป็นอย่างดี
ผลดิบ มีสารแทนนิน และเพคติน ซึ่งมีฤทธิ์ฝาดสมาน สามารถรักษาอาการท้องเสียที่ไม่รุนแรงได้ โดยรับประทานครั้งละครึ่งผล /๑ ผล อาการท้องเสียจะทุเลาลงในผลกล้วยน้ำว้าสุกและห่าม รักษาโรคเลือดออกตามไรฟันในเด็กเล็กได้ ช่วยลดอาการเจ็บคอ เจ็บหน้าอกที่มีอาการไอแห้งร่วมด้วย โดยรับประทานกล้วยน้ำว้าวันละ ๔-๖ ลูก แบ่งรับประทานกี่ครั้งก็ได้ และหากรับประทานกล้วยก่อนแปรงฟันทุกวันจะทำให้ไม่มีกลิ่นปาก และผิวพรรณดี (เห็นผลได้ใน ๑ สัปดาห์) ช่วยบำรุงกระดูก ฟัน และเหงือกให้แข็งแรง และยังช่วยให้ผิวพรรณดีอีกด้วย

ราก มีสรรพคุณในการขับน้ำเหลืองเสีย แก้ท้องเสีย
น้ำคั้นจากต้น มีสรรพคุณใช้ทากันผมร่วง และทำให้ผมขึ้น
น้ำจากก้านใบ มีสรรพคุณใช้เป็นยาผาดสมาน รักษาโรคท้องเสีย แก้บิด
ช่อดอก มีสรรพคุณใช้เป็นยารักษาโรคเบาหวาน
แป้งที่ทำจากกล้วยดิบมีสรรพคุณใช้รักษาอาการแก่ผู้ที่อาหารไม่ย่อย ท้องขึ้น มีกรดมาก
หยวกกล้วย มีสรรพคุณใช้เป็นอาหารที่ใช้ล้างในระบบทางเดิน

Comments

แวะมาเม้นท์

สรรพคุณเรื่องแก้ผมร่วงอ่ะ น่าสนใจ ... (จะได้ลองกับเขาไหมเนี่ย)

Popular posts from this blog

การทำเกษตรผสมผสาน

คำคมจาก หนังสร้างแรงบันดาลใจ: The Pursuit of Happyness