“Six Thinking Hats” การคิดแบบหมวก 6 ใบ
ดร.เอ็ดเวิร์ด เดอ โบ โน
เป็นปรมาจารย์ทางด้านการคิดชาวอังกฤษที่มีชื่อเสียงรู้จักกันทั่วโลก เขาได้ศึกษาและคิดค้นวิธีคิด
(Thinking Method) เพื่อช่วยให้มนุษย์มีการคิดที่มีประสิทธิภาพ
สร้างสรรค์ และครอบคลุม รอบด้านยิ่งขึ้น
เดอ โบ โน เกิดเมื่อปี
ค.ศ.1935 จบการศึกษาทางด้านการแพทย์ศาสตร์จากมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด
เขามีความ สนใจเรื่องการทำงานของสมอง และใช้เวลาค้นคว้าในเรื่องทักษะการคิดมาเป็นเวลายาวนานกว่า
20 ปี โดย เดอ โบ โน ไม่เห็นด้วยกับวิธีคิดในรูปแบบเดิม
ที่คนเรามักนิยมทำกันเมื่อถกเถียงหรืออธิบายหาเหตุผล (นั่นคือเอาข้อเท็จจริง
อารมณ์ หรือเหตุผลส่วนตัว มาปะปนกันในการถกเถียงเพื่อหวังเป็นผู้ชนะ)
เดอ โบ โน
เชื่อว่าวิธีการคิด การหาเหตุผลดังกล่าวข้างต้นเป็นวิธีที่ผิดและเสียเวลา
ดังนั้นในช่วงต้นศตวรรษที่ 1970 เขาจึงเสนอวิธีคิดแบบ Six Thinking Hats หรือ การคิดแบบหมวก 6 ใบ ขึ้น โดยแยกกรอบความคิดออกเป็นด้านๆ อย่างชัดเจน จากนั้นจึงวิเคราะห์หา
เหตุผลภายในกรอบความคิดนั้นๆ อันจะช่วยพิจารณาสิ่งต่างๆ ได้ครอบคลุม
และมีคุณภาพมากขึ้น แทนที่จะคิดทุกด้านในเวลาเดียวกัน ซึ่งมักก่อให้เกิดความสับสน
หมวกแห่งความคิด 6 ใบ หรือการคิด 6 ด้าน ประกอบด้วย
• หมวกสีขาว หมายถึงข้อมูลข่าวสาร
• หมวกสีแดง หมายถึงอารมณ์ความรู้สึก
• หมวกสีดำ หมายถึงการตั้งคำถามหรือตั้งข้อสงสัย
• หมวกสีเหลือง หมายถึงการมองในแง่ดีเต็มไปด้วยความหวัง
• หมวกสีเขียว หมายถึงการ คิดอย่างสร้างสรรค์
• หมวกสีฟ้า หมายถึงการสามารถควบคุมความคิดทั้งหมดให้มองเห็นภาพรวมของการคิด
• หมวกสีขาว หมายถึงข้อมูลข่าวสาร
• หมวกสีแดง หมายถึงอารมณ์ความรู้สึก
• หมวกสีดำ หมายถึงการตั้งคำถามหรือตั้งข้อสงสัย
• หมวกสีเหลือง หมายถึงการมองในแง่ดีเต็มไปด้วยความหวัง
• หมวกสีเขียว หมายถึงการ คิดอย่างสร้างสรรค์
• หมวกสีฟ้า หมายถึงการสามารถควบคุมความคิดทั้งหมดให้มองเห็นภาพรวมของการคิด
ดร.เดอ โบ โน
ได้ยกตัวอย่างการนำวิธีคิดแบบหมวก 6 ใบ มาใช้ในการบริหารองค์กรเช่น ในการประชุมแทนที่ทุกคนจะตั้งป้อมหาเหตุผล
มาหักล้างกันผู้บริหารอาจเริ่มให้ทุกคนสวม “หมวกสีขาว”
คิด ด้วยการนำเสนอข้อมูลข่าวสารของแต่ละคนออกมา
ไม่ต้องวิเคราะห์หรือ ถกเถียงกันว่าข้อมูลของใครดีกว่ากัน
ต่อมาถึงขั้นตอนการคิดแบบ “หมวกสีแดง” ทุกคนสามารถแสดงอารมณ์ความรู้สึกในเรื่องนั้นได้อย่าง
เต็มที่ จากนั้นเป็น “หมวกสีดำ″ ขั้นตอนของการใช้เหตุผลวิพากษ์
วิเคราะห์ ตั้งข้อสงสัย ข้อควรระวัง ตามด้วย “หมวกสีเหลือง”
ซึ่งเป็นสีของความหวัง ที่ทุกคนจะหาแง่มุมด้านบวกของประเด็นนี้
(แม้คนไม่เห็นด้วยก็ต้องพยายามหาข้อดีของประเด็นนั้น) เมื่อถึงช่วง ของ “หมวกสีเขียว” จะเป็นโอกาสที่ทุกคนต้องแสดงความคิดสร้างสรรค์
กล่าวคือหาทางออก หรือแนวคิดใหม่ๆ เพื่อแก้ปัญหาที่มีอยู่
ลำดับสุดท้ายเมื่อทุกคนสวม
“หมวกสีฟ้า″ จะเป็นการมองภาพรวมหาบทสรุป และสำรวจความคืบหน้าของการคิดหรือการอภิปราย
ที่ได้ดำเนินมาตั้งแต่ต้น
ขั้นตอนการคิดแบบหมวก 6 ใบ
ไม่มีกฎเกณฑ์ตายตัวว่าต้องเริ่มคิดที่หมวกสีขาวก่อนแล้วจึงไปจบลงที่หมวกสีฟ้า
แต่สามารถใช้ความคิด แบบหมวกสีใดก่อนก็ได้ หรือคิดกลับไปกลับมายังหมวกสีใดกี่รอบก็ได้ตามต้องการ
ที่สำคัญคือควรคิดให้ครบถ้วนทั้ง 6 แบบ เพื่อความ
สมบูรณ์ในการคิดรอบด้าน
วิธีการคิดแบบหมวก 6 ใบ
จะทำให้เกิดการโต้เถียงในที่ประชุมน้อยลงเพราะไม่นำความคิดหลากหลายด้านมาปะปนกัน
ทำให้ช่วยประหยัด เวลาได้มาก ดังกรณีตัวอย่างบริษัท ไอ บี เอ็ม
ที่นำวิธีคิดแบบนี้มาใช้ สามารถลดเวลาในการประชุมแต่ละครั้งได้ถึง 75%
ด้วยเหตุที่เป็นวิธีการที่ง่ายๆ
ไม่ซับซ้อน และใช้ได้ผลดี จึงมีองค์กรขนาดใหญ่หลายแห่งทั่วโลก
นำเครื่องมือการคิดดังกล่าวไปใช้ให้เกิด ประโยชน์ในการพัฒนาองค์กร เช่น
บริษัทดูปองท์ ไอบีเอ็ม บริติซแอร์เวย์ องค์การโทรศัพท์ และคมนาคมแห่งญี่ปุ่น (NTT) เป็นต้น
Comments