“จิงจูฉ่าย” ผักสมุนไพรทางออกเกษตรกรไทย ตอบโจทย์รักสุขภาพ

โดย MGR Online
“จิงจูฉ่าย” ผักสมุนไพรทางออกเกษตรกรไทย ตอบโจทย์รักสุขภาพ
        จิงจูฉ่าย พืชเกษตรที่กำลังได้รับความนิยม จากทั้งเกษตกรผู้ปลูก และผู้บริโภค เนื่องจากคุณสมบัติของจิงจูฉ่าย ที่มีสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย และจากผลการวิจัย ยังพบว่าจิงจูฉ่ายมีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็งได้ 
       
       สำหรับการปลูกจิงจูฉ่ายในประเทศไทย เริ่มมาจากการปลูกในพื้นที่โครงการหลวง เมื่อปี 2009 ปัจจุบันโครงการหลวงยังคงปลูกจำหน่าย และขายกิ่งพันธุ์ให้กับเกษตรกรที่สนใจ ในพื้นที่ภาคเหนือ ตอนหลังได้รับความสนใจจากผู้บริโภคมากขึ้น หลังผลการวิจัยออกมา จิงจูฉ่าย ช่วยผู้ป่วยโรคมะเร็งได้ และ ครั้งนี้ ได้มีโอกาส รู้จักกับเจ้าของไร่ผู้ปลูกจิงจูฉ่าย ที่ได้รับการถ่ายทอดจากโครงการหลวงเชียงราย “ ศิริวิมล กิตะพาณิชย์” เจ้าของไร่รื่นรมย์ ได้มาถ่ายการปลูกจิงจูฉ่าย 
“จิงจูฉ่าย” ผักสมุนไพรทางออกเกษตรกรไทย ตอบโจทย์รักสุขภาพ
        ศิริวิมล เล่าว่า ยินดีแนะนำถ่ายทอดวิธีการปลูกให้กับเกษตรกรที่สนใจ ไม่คิดค่าใช้จ่าย เพราะเห็นว่าน่าจะเป็นพืชท่ี่น่าจะทำรายได้ให้กับเกษตรกรได้ในอนาคต  โดยตนเองได้มาเริ่มต้นปลูกจิงจูฉ่ายมาได้ประมาณ 1 ปี ที่เลือกปลูกจิงจูฉ่าย เพราะเห็นว่าเป็นพืชที่span style="background-color: #ccffff;">ดูแลง่าย มีประโยชน์ทางโภชนาการสูง และเชื่อว่าจะเป็นประโยชน์กับหลายคนที่มองหาวิธีการดูแลรักษาสุขภาพ ด้วยวิธีที่ง่าย สะดวกและไม่แพง เป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วยอีกหลายๆ คน แค่ได้ผักอินทรีย์ ให้กับผู้ป่วยได้มีตัวเลือกในการบริโภคเกินคุ้ม
      
       โดยจุดเริ่มของตนเอง มาจากการได้รับคำแนะนำวิธีการปลูกจากศูนย์เพาะขยายพันธุ์พืช โครงการหลวงที่จังหวัดเชียงราย และได้ซื้อกิ่งพันธุ์ จากโครงการหลวงมาปลูก ขั้นตอนการปลูกนั้นสามารถแยกกิ่งที่แก่ไปปักชำได้ หรือขุดรากไปปลูกได้เช่นกัน พื้นที่ที่เหมาะสม ที่ผ่านมาจะพบว่า ส่วนใหญ่จะมีการปลูกกันมากบริเวณภาคเหนือตอนบน แต่ปัจจุบันจะพบว่ามีการปลูกกันในหลายพื้นที่ในภาคกลาง ดังนั้น จึงสรุปว่าน่าจะปลูกได้ในทุกพื้นที่ ข้อดีอีกอย่างหนึ่ง คือ สามารถปลูกลงดินหรือในกระถางก็ได้
“จิงจูฉ่าย” ผักสมุนไพรทางออกเกษตรกรไทย ตอบโจทย์รักสุขภาพ
        ทั้งนี้ จิงจูฉ่ายเป็นไม้ล้มลุก ไม้พุ่มขนาดเล็ก พื้นที่เหมาะสม คือ แสงรำไร และการดูแล คือ รดน้ำ ให้ชุ่มสม่ำเสมอ ระยะเวลาในการปลูกประมาณ 1 เดือน เก็บผลผลิตได้ การเก็บผลผลิตจะใช้การตัดกิ่ง ดังนั้น หลังเก็บผลผลิตแล้วควรที่จะได้มีการตัดแต่งกิ่งสม่ำเสมอ เพื่อให้เกิดการแตกใบที่ดี  
       
       การปลูกจิงจูฉ่าย 1 ไร่ สามารถปลูกได้ 20 แถว ใช้กิ่งปักชำประมาณ 900-1.000 กิ่ง และต้องใช้ปุ๋ยคอก และเชื้อจุลินทรีย์ ประมาณ 100 กระสอบ ค่าใช้จ่ายในการปลูก ต่อ 1 ไร่ประมาณ 15,000 บาท ไม่รวมระบบน้ำและค่าแรง ซึ่งการปลูก 1 ครั้ง สามารถตัดกิ่งขายได้หลายรอบ จนกว่าต้นจะตาย หรือ สามารถนำกิ่งมาตัดขยายพันธุ์ต่อได้ การลงทุนในครั้งแรกจะสูง เพราะต้องซื้อกิ่งพันธุ์ หลังจากนั้น เกษตรกรสามารถขยายพันธุ์เอง ส่วนราคากิ่งพันธุ์ กิ่งละ 15 บาท ถึง 20 บาท สามารถหาซื้อได้ที่โครงการหลวง หรือ ในกรุงเทพฯ ซื้อได้ที่สวนจตุจักร ปัจจุบันมีการปลูกเพาะพันธุ์กันอย่างแพร่หลาย ทำให้สามารถหาซื้อกิ่งพันธุ์ได้ง่าย
“จิงจูฉ่าย” ผักสมุนไพรทางออกเกษตรกรไทย ตอบโจทย์รักสุขภาพ
        สำหรับลักษณะของจิงจูฉ่าย รูปทรงใบคล้ายๆ กับใบขึ้นฉ่าย นิยมนำมาใส่ในต้มเลือดหมู แกงจืด ข้าวต้ม หรือ รับประทานสด เป็นผักแกล้มกับลาบ หรือ ปั่นใบสด และกรองเอาแต่น้ำ แล้วเป็นน้ำก็ได้ ที่ผ่านมา มีการนำจิงจูฉ่ายมาตากแห้งและดื่มเป็นชาสมุนไพร แต่การที่กินให้ได้คุณค่าทางโภชนการ ควรจะกินสด
      
       โดยผลผลิตที่ไร่ของ คุณศิริวิมล จะส่งไปจำหน่ายในร้านเพื่อสุขภาพ ชื่อ ร้านโดยเฉพาะสาขา โรงพยาบาลศิริราช โดยทำเป็นแพคใส่ถุงแบบยืดอายุ ราคาจำหน่ายถุงละ 39 บาท น้ำหนักประมาณ 300 กรัมต่อหนึ่งถุง เดือนหนึ่ง สามารถตัดกิ่งจิงจูฉ่ายส่งขายได้ 150-200 กิโลกรัมบนพื้นที่ปลูกจำนวน 1 ไร่
“จิงจูฉ่าย” ผักสมุนไพรทางออกเกษตรกรไทย ตอบโจทย์รักสุขภาพ
        “จิงจูฉ่าย” หรือ “โกศจุฬาลัมพา”  ส่วนชื่อชาวต่างชาติเรียกขานกันว่า  “เซเลอรี” (Celery) อยู่ในวงศ์ Asteraceae เป็นพืชล้มลุกไม้พุ่มขนาดเล็ก สูงประมาณ 0.5 - 1 ฟุต ใบเป็นรูปรีขอบเป็นแฉกๆ 5 แฉกสีเขียว เนื้อใบหนา คล้ายต้นขึ้นฉ่าย รากหรือเหง้าใหญ่จะกระจายเป็นวงกว้าง แตกกิ่งก้านหนาแน่นเป็นกอคล้ายๆ ใบบัวบก จะมีกลิ่นหอม รสชาติขมเล็กน้อย สามารถขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดได้ เจริญงอกงามได้ดีในที่แสงแดดรำไร ปลูกได้ดีในอากาศเย็นมากกว่าอากาศร้อน โดยทางการแพทย์เชื่อว่าจิงจูฉ่ายนั้นเป็นยาเย็น ชาวจีนจึงนิยมนำมาปรุงเป็นอาหารรับประทานในหน้าหนาวเพื่อปรับสมดุลภายในร่างกาย

Comments

Popular posts from this blog

การทำเกษตรผสมผสาน

คำคมจาก หนังสร้างแรงบันดาลใจ: The Pursuit of Happyness